เศรษฐกิจและสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ
๑. การเกษตรกรรม
ประชาชนในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการทำนา และมีการทำปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงหมู ไก่ เป็ด โค เลี้ยงกบ ตามสภาพธรรมชาติและเพื่อการบริโภคเองในครัวเรือน อีกทั้งยังไม่มีการจัดการในรูปแบบของฟาร์มอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว คือการจักสานไม้ไผ่กลุ่มทอผ้าสไบขิด กลุ่มทอเสื่อกก รับจ้างทั่วไป ฯ
๒ การอุตสาหกรรม
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุไม่มีการประกอบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรืออุตสาหกรรมขนาดเล็กแต่เป็นการการผลิตในครัวเรือน หรือเรียกว่าอุตสาหกรรมครัวเรือน เสียเป็นส่วนมาก เช่น การผลิตยาสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพร การแปรรูปอาหาร อู่ซ่อมรถทั่วไป โรงสีข้าวขนาดกลาง และโรงสีข้าวขนาดเล็ก เป็นต้น
๓. การพาณิชยกรรม และการบริการ
มีการประกอบธุรกิจการค้าขายครอบคลุมพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เช่น ธุรกิจขายของชำ ค้าวัสดุก่อสร้าง วัสดุการเกษตร
๔. การท่องเที่ยว
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือพระบรมธาตุนาดูน ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำอำเภอนาดูนแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำจังหวัดมหาสารคาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย โดยมีการจัดงานประจำปีทุกปี คืองานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน ซึ่งจะกำหนดจัดอยู่ในช่วงวันมาฆบูชา แหล่งท่องเที่ยวในเขตตำบลพระธาตุที่สำคัญอีที่หนึ่ง คือกู่น้อย ตั้งอยู่บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ ๑ตำบลพระธาตุ ตำบลพระธาตุจะจัดงานสรงกู่ในวันเพ็ญเดือน ๕ ของทุก ๆ ปี
๖ กลุ่มอาชีพในตำบลพระธาตุ
ลำดับที่ |
ชื่อกลุ่ม / กองทุน |
จำนวนสมาชิก(คน) |
ที่ตั้งกลุ่ม / กองทุน |
ประธานกลุ่ม/ตัวแทน |
๑ |
กลุ่มทอผ้าสไบขิดตำบลพระธาตุ |
๒๕ |
บ้านดงน้อย ม.๔ |
นางบุบผา ศรีภูวงษ์ |
๒ |
กลุ่มทอเสื่อกกบ้านโกทา |
๑๑ |
บ้านโกทา ม.๒ |
นางวันรพี เชื้อพลบ |
๓ |
กลุ่มทอเสื่อกกบ้านปอพาน |
๑๑ |
บ้านปอพาน ม.๖ |
นางปริชาติ ประทุมทอง |
๔ |
กลุ่มทอเสื่อกกบ้านหนองจิก |
๑๐ |
บ้านหนองจิก ม.๗ |
นางสมบัติ ศรีภูวงษ์ |
๕ |
กลุ่มสมุนไพรแบบเกษตรอินทรีย์บ้านโกทา |
๑๐ |
บ้านโกทา ม.๒ |
นางสาวิตรี แป่มจำนัก |
๖ |
กลุ่มทอผ้าสไบขิดบ้านนาหาด |
๑๐ |
บ้านนาหาด ม.๓ |
นางทองดี ปัตตาลาโพ |
๗ |
กลุ่มทอผ้าสไบขิดบ้านดงน้อย |
๑๑ |
บ้านดงน้อย ม.๔ |
นางบุบผา ศรีภูวงษ์ |
๘ |
กลุ่มทอเสื่อกกบ้านโพธิ์ทอง |
๑๑ |
บ้านโพธิ์ทอง ม.๑ |
นางบุญเลิง โกสาเสนา |
๙ |
กลุ่มปลาร้าบองบ้านโพธิ์ทอง |
๙ |
บ้านโพธิ์ทอง ม.๑ |
นางบุญเลิง โกสาเสนา |
๑๐ |
กลุ่มทอผ้าไหม |
๑๐ |
บ้านดงน้อย ม.๕ |
นางทองอินทร์ หล้าสุดตา |
๑๑ |
กลุ่มทำดอกไม้ประดิษฐ์ |
๑๐ |
บ้านหนองจิก ม.๗ |
นางถาวร เสนามิ่ง |
๑๒ |
กลุ่มทอผ้าเช็ดเท้า |
๑๒ |
บ้านหนองจิก ม.๗ |
นางบัวพันธ์ ภูประวัติ |
สภาพสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ
๑ การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษาจำนวน ๒ แห่ง คือ
๑. โรงเรียนบ้านโกทา ตั้งอยู่บ้านโกทา หมู่ที่ ๒
๒. โรงเรียนบ้านหนองจิก ตั้งอยู่บ้านหนองจิก หมู่ที่ ๗
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน ๑ แห่ง คือ
๑.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ธารมณ์ ตั้งอยู่บริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้านจำนวน ๘ แห่งประจำอยู่ทุกหมู่บ้าน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุได้สนับสนุนหนังสือพิมพ์วันละ ๒ ฉบับทุกวันทุกหมู่บ้าน
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน ๑ แห่ง คือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลพระธาตุตั้งบริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ
๒ สถาบันและองค์กรทางศาสนา
ประชาชนตำบลพระธาตุนับถือศาสนาพุทธเกือบร้อยละร้อย
มีวัดทั้งหมด ๗แห่งดังนี้
ลำดับที่ |
ชื่อวัด / ชื่อสำนักสงฆ์ |
ที่ตั้ง |
หมายเหตุ |
๑ |
วัดกู่น้อย ศิริโพธิ์คา |
บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ |
|
๒ |
วัดโพธิ์ธารมณ์ |
บ้านโกทา หมู่ที่ ๒ |
|
๓ |
วัดหงษาราม |
บ้านนาหาดหมู่ที่ ๓ |
|
๔ |
วัดโพธิ์ธาราม |
บ้านดงน้อยหมู่ที่ ๔ และบ้านดงน้อยหมู่ที่ ๕ |
|
๕ |
วัดโพธิ์ศรี |
บ้านปอพานหมู่ที่ ๖ |
|
๖ |
วัดหนองจิก |
บ้านหนองจิกหมู่ที่ ๗ |
|
๗ |
วัดโพธิ์ศรี |
บ้านโต้น หมู่ที่ ๘ |
๓ วัฒนธรรม
ตำบลพระธาตุมีประเพณีประจำเดือนทุกเดือน ใน ๑ ปี หรือเรียกว่า ฮีตสิบสอง
๑. เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม บุญเข้ากรรมเป็นกิจกรรมของสงฆ์ เรียกว่า เข้าปริวาสกรรม
๒. เดือนยี่ บุญคูณลาน การทำบุญคูณลานจะทำเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จ
๓. เดือนสาม บุญข้าวจี่ เป็นการทำบุญในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา ชาวบ้านจะมาร่วมกันทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ตอนค่ำจะมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ชาวบ้านจัดเตรียมข้าวจี่แล้วนำไปถวายพระภิกษุสามเณรที่วัด เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการฝังเทศน์ฉลองข้าวจี่และรับพร
๔. เดือนสี่ บุญพระเวส (บุญพระเวสสันดรหรือบุญมหาชาติ) คำนี้ออกเสียงว่า ผะเหวด เป็นสำเนียงของชาวอีสานที่มาจากคำว่า พระเวส ซึ่งหมายถึงพระเวสสันดร การทำบุญผะเหวด เป็นการทำบุญและฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดก หรือเทศน์มหาชาติ ซึ่งมีจำนวน ๑๓ กัณฑ์
๕. เดือนห้า บุญสงกรานต์ (บุญสรงน้ำ) เป็นการทำบุญวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณ นิยมทำในเดือนห้าเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายนถึงวันที่ ๑๕ เมษายน
๖. เดือนหก บุญบั้งไฟ บุญบั้งไฟเป็นงานสำคัญของชาวอีสานก่อนลงมือทำนา ด้วยความเชื่อว่าเป็นการขอฝนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาอุดมสมบูรณ์ ประชาชนอยู่อย่างมีความสุข
๗. เดือนเจ็ด บุญซำฮะ (บุญชำระ) เป็นการทำบุญเพื่อชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีเป็นเสนียดจัญไรอันจะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่บ้านเมือง เป็นการปัดเป่าความชั่วร้ายให้ออกจากหมู่บ้าน
๘. เดือนแปด บุญเข้าพรรษา การเข้าพรรษเป็นกิจของภิกษุสามเณรที่จะต้องอยู่เป็นประจำในวัดใดวัดหนึ่งตลอด ๓ เดือน กำหนดเอาตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ห้ามมิให้พระภิกษุสามเณรไปพักแรมคืนที่
๙. เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อถึงวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ชาวบ้านจากันทำข้าวปลาอาหารคาวหวานพร้อมหมากพลูตั้งแต่เช้ามืดห่อใส่ใบตอง เรียกว่า ข้าวประดับดิน นำไปวางไว้ตามโคนต้นไม้ในบริเวณวัด เพื่อให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้นมากิน
๑๐. เดือนสิบ บุญข้าวสาก เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย โดยมีการทำสลากให้พระจับ เพื่อที่จะได้ถวายของตามสลากนั้น
๑๑. เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา จัดทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นการทำบุญที่สืบเนื่องมาจากบุญเข้าพรรษาในเดือนแปด ที่พระภิกษุสามเณรได้เข้าพรรษาเป็นเวลานานถึง ๓ เดือน ดังนั้น ในวันที่ครบกำหนดพระภิกษุสามเณรเหล่านั้นจะมารวมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณา
๑๒. เดือนสิบสอง บุญกฐิน เป็นการถวายผ้าจีวรแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบ ๓ เดือน งานบุญนี้มีระยะเวลาทำตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒